เรื่องของ “การสื่อสาร” ถือว่ามีความสำคัญมากสำหรับการศึกษาอวกาศ เพราะเดิมที การสื่อสารระหว่างโลกกับยานอวกาศหรือยานสำรวจต่าง ๆ มักต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือหลายวัน ทำให้การรับส่งข้อมูลมักล่าช้าหรือไม่ทันตามความต้องการ
ด้วยเหตุนี้ ที่ผ่านมา องค์การนาซา (NASA) จึงได้พยายามพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ขึ้นมาเพื่อร่นระยะเวลา นั่นคือ “การสื่อสารด้วยแสงเลเซอร์” (Laser Communication)
นักวิทย์พบ “ระบบสุริยะสมบูรณ์แบบ” กุญแจไขคำตอบการกำเนิดดาวเคราะห์
“Wasp-107b” ดาวเคราะห์ประหลาด ที่ฝนตกลงมาเป็น “เม็ดทราย”
ช่องทางรวยยุคอวกาศ นาซาเตรียมสำรวจ “ดาวเคราะห์น้อยทองคำ”
การสื่อสารด้วยแสงเลเซอร์ คือการใช้แสงเลเซอร์ในการส่งข้อมูล เป็นลำแสงที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ไม่เป็นอันตราย สามารถส่งข้อมูลได้มากแม้ในระดับเทราไบต์ก็ไม่มีปัญหา ส่งได้ทั้งข้อความ รูปภาพ และวิดีโอ
คุณลักษณะสำคัญของการสื่อสารด้วยแสงเลเซอร์คือ มีลักษณะการสื่อสารแบบเจาะจง (Directional) คือข้อมูลจะพุ่งตรงจากตัวส่งไปยังตัวรับ ต่างจากการสื่อสารแบบคลื่นวิทยุ ที่ลักษณะการส่งจะเป็นแบบหลายทิศทาง ให้นึกภาพเหมือนคลื่น ที่ยิ่งกระจายออกไปคลื่นก็จะยิ่งบาง ซึ่งในกรณีนี้ก็เหมือนกัน คือการส่งข้อมูลด้วยคลื่นวิทยุสัญญาณจะอ่อนลงเรื่อย ๆ ตามระยะทางคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ล่าสุด นาซาทำการทดลองการสื่อสารด้วยแสงเลเซอร์กับยานสำรวจดาวเคราะห์น้อยภารกิจไซคี (Psyche) ซึ่งกำลังเดินทางมุ่งหน้าไปยังดาวเคราะห์น้อย “16 ไซคี (16 Phyche)” เพื่อสำรวจแหล่งแร่หายาก
โดยยานไซคีได้ส่งวิดีโอกลับมายังโลกจากระยะทางเกือบ 31 ล้านกิโลเมตร เป็นคลิปวิดีโอที่มีความคมชัดสูงเป็นพิเศษความยาวสั้น ๆ ของแมวที่ชื่อ “เทเทอร์ส” (Taters) โดยเป็นแมวลายสีส้มที่กำลังวิ่งไล่ตามจุดแสงสีแดงบนโซฟา
นี่นับเป็นครั้งแรกที่นาซาส่งวิดีโอจากห้วงอวกาศมายังโลกโดยใช้แสงเลเซอร์
วิดีโอดังกล่าวถูกส่งมายังโลกด้วยเครื่องรับส่งสัญญาณเลเซอร์การบินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองการสื่อสารด้วยแสงห้วงอวกาศหรือ DSOC วันหนึ่งเทคโนโลยีนี้จะสามารถนำไปใช้ส่งข้อมูล ภาพ และวิดีโอได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่มนุษย์ก้าวข้ามขีดจำกัดของการสำรวจอวกาศด้วยการออกผจญภัยไปยังสถานที่ต่าง ๆ เช่น ดาวอังคาร
วิดีโอความยาว 15 วินาทีถูกเข้ารหัสด้วยเลเซอร์อินฟราเรดระยะใกล้ (Near-Infrared Laser) และฉายจากยานอวกาศไซคีไปยังกล้องโทรทรรศน์เฮลที่หอดูดาวพาโลมาร์ของสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย
วิดีโอนี้ถูกดาวน์โหลดที่หอดูดาวเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม และภาพวิดีโอแต่ละเฟรมที่ถูกส่งมาได้รับการถ่ายทอดสดที่ห้องปฏิบัติการขับเคลื่อนด้วยไอพ่นของนาซาในเมืองพาซาดีนา แคลิฟอร์เนีย
ในระหว่างการส่งสัญญาณ ระยะห่างระหว่างยานอวกาศไซคีและเฮลคือ 80 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์ โดยการส่งข้อมูลผ่านแสงเลเซอร์มายังโลกจะใช้เวลาประมาณ 101 วินาทีเท่านั้น
เลเซอร์สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 10-100 เท่าของการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุแบบเดิม
แพม เมลรอย รองผู้อำนวยการนาซา กล่าวว่า “ความสำเร็จนี้เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของเราในการพัฒนาการสื่อสารแบบออปติก (เลเซอร์) ให้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการตอบสนองความต้องการในการส่งข้อมูลในอนาคตของเรา”
เธอเสริมว่า “การเพิ่มแบนด์วิธของเราถือเป็นสิ่งสำคัญในการบรรลุเป้าหมายด้านการสำรวจและวิทยาศาสตร์ในอนาคต และเราหวังว่าจะมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีนี้และเปลี่ยนแปลงวิธีการสื่อสารระหว่างภารกิจระหว่างดาวเคราะห์ในอนาคต”
เรียบเรียงจาก CNN
ภาพจาก JPL-Caltech/NASA
ประกาศแล้ว! “ผลสลากกาชาด 2566” เช็กวิธีตรวจผล-ขึ้นเงินรางวัล ที่นี่
กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566
แผ่นดินไหวจีนขนาด 6.2 เขย่ามณฑลกานซู่ เสียชีวิตแล้วมากกว่า 100 ราย